ตะกร้า 0

เครื่องเชื่อม ตัด

ตู้เชื่อมไฟฟ้าคุณภาพสูง ประกันนาน 2 ปี จาก KOVET

การเลือกตู้เชื่อมไฟฟ้าให้เหมาะกับพื้นผิวและหน้างานถือเป็นเรื่องสำคัญที่ช่างและเจ้าของงานทุกคนต้องใส่ใจ เพราะ ถ้าหากเลือกตู้เชื่อมที่ไม่ตรงกับชิ้นงานมาเมื่อไหร่ นอกจากจะได้ชิ้นงานที่ไม่สวยงามเท่าที่ควรแล้ว แนวการเชื่อมก็จะสึกกร่อนง่าย และทำให้งานเชื่อมไม่มีประสิทธิภาพ เป็นเหตุให้ต้องเสียเวลาซ่อมแซม อีกทั้งยังต้องเสียเงินซ่อมใหม่ รวมถึงเสียเงินซื้อวัสดุอย่างลวดเชื่อม รวมถึงตู้เชื่อมไฟฟ้าใหม่ซ้ำซ้อน


ซึ่งการเลือกซื้อตู้เชื่อมคุณภาพสูงจากบริษัท กู๊ดวิล แมชชิน จำกัดนั้น นอกจากคุณจะได้เลือกสรรตู้เชื่อมไฟฟ้าจากหลายแบรนด์ทั้ง KOVET และ Alibaba แล้ว ทางบริษัทยังมาพร้อมกับตู้เชื่อมสำหรับงานประเภทต่าง ๆ อาทิ ตู้เชื่อม TIG (GTAW) เครื่องเชื่อม MIG (GMAW) หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่าตู้เชื่อม MIG รวมไปถึงตู้เชื่อมไฟฟ้า MMA เป็นต้น เครื่องเชื่อมทุกรุ่นของทุกประเภทได้ผ่านการออกแบบและมีการผลิตที่ได้คุณภาพ  มาตรฐานระดับสากล เหมาะสำหรับช่างเชื่อมที่เพิ่งเรียนฝึกหัดและต้องการเรียนรู้การเชื่อมกับตู้เชื่อมไฟฟ้าที่ถูกต้อง ไปจนถึงช่างเชื่อมผู้ที่มีประสบการณ์เฉพาะทาง

ทำไมต้องเลือกซื้อตู้เชื่อมไฟฟ้าจาก KOVET

​ตู้เชื่อมไฟฟ้า จากแบรนด์ KOVET และ Alibaba ของทางบริษัททุกรุ่นและทุกประเภทจะผ่านการทดสอบการใช้งานจริงทุกชิ้น เพื่อการรับรองคุณภาพของสินค้าตามมาตรฐานระดับสากลก่อนส่งถึงมือคุณทุกครั้ง นอกจากนี้ การซื้อตู้เชื่อมทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นตู้เชื่อม TIG, MIG, MMA หรือตู้เชื่อมไฟฟ้าแบบไหนก็ตาม KOVET ยังมีการรับประกันคุณภาพของสินค้านานถึง 2 ปี พร้อมมีบริการจัดส่งที่รวดเร็ว ดูแลให้ถึงหน้างาน ที่สำคัญ คุณสามารถขอคำปรึกษาเกี่ยวกับสินค้าและวิธีการใช้งานเครื่องเชื่อมประเภทต่าง ๆ และตู้ตัดพลาสม่าได้จากทีมงานมืออาชีพ ผู้มีประสบการณ์เฉพาะทางโดยตรงจาก KOVET ได้ตลอดเวลา


แต่ถ้าหากยังไม่ทราบว่าจะซื้อตู้เชื่อมไฟฟ้าแบบไหนดี KOVET ได้รวบรวมรายละเอียดของตู้เชื่อมแต่ละรุ่นมาให้ดังนี้

ตู้เชื่อม MMA (SMAW)

ตู้เชื่อมไฟฟ้า MMA เหมาะสำหรับใช้กับงานอะไร?

  • ตู้เชื่อมไฟฟ้า MMA เหมาะสำหรับการเชื่อมเหล็กด้วยธูปเชื่อม (SMAW - STICK) ซึ่งการเชื่อมเช่นนี้จะเป็นการเชื่อมโลหะที่หลากหลายมากที่สุด โดยสามารถเชื่อมโลหะได้ทั้งที่เป็นเหล็กและไม่ใช่เหล็ก 

  • นอกจากนี้ ตู้เชื่อมไฟฟ้าประเภทนี้ยังสามารถปรับกระแสเชื่อมให้เหมาะสมกับงานเชื่อมแต่ละชนิดได้ อีกทั้งยังช่วยให้ช่างเชื่อมได้เร็ว เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ไปทำงานตามจุดต่าง ๆ ได้ง่าย พกพาได้สะดวก 

  • ที่สำคัญ การใช้ตู้เชื่อมตัวนี้ยังไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะในการเชื่อมสูง มีระบบป้องกันกระแสไฟ การโหลด หรือความร้อนเกิน เพื่อความปลอดภัยสูงสุดในการใช้งาน สามารถเชื่อมงานได้ต่อเนื่อง

ตู้เชื่อม TIG (GTAW)

ตู้เชื่อม TIG เหมาะสำหรับใช้กับงานอะไร?

  • ตู้เชื่อม TIG สามารถเชื่อมได้ทั้งธูป (STICK) และเชื่อม TIG (GTAW) เหมาะสำหรับชิ้นงานที่ต้องการความสวยงามของแนวเชื่อมไปพร้อม ๆ กับความทนทานของการเชื่อม

  • ตู้เชื่อม TIG จาก KOVET เป็นเครื่องแบบพิเศษที่ใช้เทคโนโลยีอินเวอร์เตอร์ (Inverter) เพื่อให้ได้งานเชื่อมที่มีประสิทธิภาพสูงสุด 

  • ติดตั้งง่าย ใช้งานง่าย เชื่อมง่าย ได้ชิ้นงานสวย เหมาะสำหรับช่างเชื่อมทุกระดับที่ต้องการเริ่มต้นเรียนรู้การเชื่อมโดยใช้ตู้เชื่อม TIG    มีทั้งตู้เชื่อมรุ่นที่สามารถใช้กระแสไฟได้สองแบบ (กระแสตรงและกระแสสลับ) และเครื่องที่ใช้แค่ไฟฟ้ากระแสสลับอย่างเดียวให้เลือกใช้ตามความถนัดของช่าง และความเหมาะสมของชิ้นงาน

ตู้เชื่อม MIG/ MAG CO2 (GMAW)

เครื่องเชื่อม MIG เหมาะสำหรับใช้กับงานอะไร?

  • ตู้เชื่อม MIG/MAG CO2 เป็นตู้เชื่อมไฟฟ้าแบบพิเศษที่สามารถนำลวดเชื่อมลงชิ้นงานได้โดยอัตโนมัติจากเครื่องเชื่อม ด้วยเหตุนี้ เครื่องเชื่อม MIG จึงเหมาะสำหรับการเชื่อมโลหะเกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเหล็ก สเตนเลส อลูมิเนียม ทองแดงและเหล็กเหนียว 

  • เครื่องเชื่อม MIG เหมาะกับช่างที่มีความชำนาญในการเชื่อม และไม่เหมาะกับการเคลื่อนย้ายบ่อย ๆ ตู้เชื่อม MIG จาก KOVET นั้นเป็นเครื่องเชื่อมเหล็กที่มีคุณภาพสูง มีระบบป้องกันความร้อนเกินพิกัด และมีระบบควบคุมกระแสไฟฟ้าตั้งแต่เริ่มต้นใช้งาน ทำให้มั่นใจได้ว่าจะปลอดภัยในทุก ๆ ขั้นตอน

ตู้ตัดพลาสม่า

ตู้ตัดพลาสม่าเหมาะสำหรับใช้กับงานอะไร?

  • ตู้ตัดพลาสม่าเป็นเครื่องตัดชิ้นงานโลหะที่สามารถตัดได้ทุกชนิด ทุกความหนาบาง ไม่ว่าจะเป็นเหล็ก สเตนเลส อลูมิเนียม ทองเหลือง ทองแดงหรือโลหะนำไฟฟ้าต่าง ๆ

  • ตู้ตัดพลาสม่านั้นต้องใช้ความชำนาญของช่างในการตัดชิ้นงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ตู้ตัดพลาสม่าคุณภาพสูงจาก KOVET นั้นจะทำให้ได้ชิ้นงานที่มีความสวยงาม ไม่ทำให้ชิ้นงานบิดงอหรือเสียรูปทรง

เทียบชัด ๆ ตู้เชื่อมไฟฟ้าแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร?

ถ้าหากช่างหรือผู้ดูแลงานคนไหนยังไม่แน่ใจว่าควรจะเลือกตู้เชื่อมประเภทไหนในการใช้งานนั้น KOVET จึงขอสรุปความแตกต่างของตู้เชื่อมไฟฟ้าทุกประเภทมาให้ได้เลือกพิจารณา ดังนี้

ลักษณะการใช้งาน ตู้เชื่อม MMA ตู้เชื่อม TIG ตู้เชื่อม MIG ตู้ตัดพลาสม่า
เหมาะสำหรับการใช้งานประเภทไหน  การเชื่อมเหล็กด้วยธูปเชื่อม สามารถเชื่อมได้ทั้งโลหะที่เป็นเหล็กและไม่ใช่เหล็ก  ตู้เชื่อมบางตัวสามารถเชื่อมแบบอาร์กอนได้อย่างเดียว ในขณะที่บางรุ่นสามารถเชื่อมกับวัตถุประเภทอื่น ๆ ได้  เชื่อมโลหะได้หลายประเภททั้งเหล็ก สเตนเลส และอลูมิเนียม   ตัดโลหะ 
ระดับความชำนาญของช่าง  ช่างทุกระดับความชำนาญ  ช่างที่มีพื้นฐานการเชื่อมไปจนถึงช่างระดับชำนาญการ  ช่างที่มีความชำนาญสูง  ช่างที่มีความชำนาญสูง 
ข้อดี  เชื่อมได้เร็ว เชื่อมได้หลากหลาย พกพาอุปกรณ์ได้สะดวก  เชื่อมชิ้นงานบางได้โดยไม่เกิดสะเก็ดไฟ ควันน้อย ให้ความเรียบเนียน  เชื่อมโลหะได้ทุกชนิด เครื่องเชื่อม MIG สามารถเดินแนวเชื่อมได้ละเอียด สวยงาม และเชื่อมได้เร็ว  ตัดโลหะได้ทุกชนิดได้อย่างสวยงาม ไม่ทำให้ชิ้นงานบิดเบี้ยว หรืองอ 
ข้อเสีย  เกิดสะเก็ดไฟในการเชื่อม ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้  ราคาสูง การตั้งค่าซับซ้อน ใช้แก๊สเป็นตัวเชื่อม เชื่อมได้ค่อนข้างช้า  เคลื่อนย้ายลำบาก เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม  ราคาสูง ต้องเปลี่ยนอะไหล่บ่อย
 

หากคุณกำลังมองหาตู้เชื่อมไฟฟ้าและการบริการที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ บริษัทในเครือ กู๊ดวิล แมชชิน มาพร้อมกับตู้เชื่อมคุณภาพสูง และทีมงานกว่า 150 คนพร้อมยินดีให้การบริการทางด้านข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า การซ่อมบำรุง การให้คำแนะนำการดูแลรักษาสินค้า เพื่อสร้างความมั่นใจและรอยยิ้มของลูกค้าทุกท่าน

หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานและคุณสมบัติของสินค้าแต่ละชนิด อย่างเครื่องเชื่อม MIG และอื่น ๆ ทีมงานจาก KOVET พร้อมยินดีให้คำปรึกษาและแนะนำสินค้าต่าง ๆ ที่ตรงตามการใช้งาน เพื่อให้คุณได้รับสิ่งที่ดีที่สุดและคุ้มค่าที่สุด

 

เครื่องเชื่อม เครื่องมือช่างที่จะทำให้งานเชื่อมต่อวัสดุได้ง่ายขึ้น

เครื่องเชื่อม (Welding Machine) คือ อุปกรณ์ทุ่นแรงชิ้นสำคัญสำหรับงานเชื่อม โดยใช้พลังงานไฟฟ้าในการเชื่อมชิ้นงานระหว่างโลหะหรืออโลหะเข้าด้วยกัน ซึ่งหลักการทำงานของเครื่องเชื่อมจะอาศัยความร้อนจากอาร์กระหว่างอิเล็คโทรดกับวัสดุหรือชิ้นงานที่ต้องการทำการเชื่อม เพื่อหลอมละลายให้วัสดุและชิ้นงานติดกันตามความต้องการ

รูปแบบเครื่องเชื่อมที่นิยมใช้งานในปัจจุบัน

  1. เครื่องเชื่อม TIG: แต่ช่างผู้ใช้งาน จะนิยมเรียกว่าเครื่องเชื่อมอาร์กอน เนื่องจากเป็นเครื่องเชื่อมที่ใช้แก๊สอาร์กอน ปกคลุมแนวเชื่อม โดยมีอิเล็กโทรดเป็นทังสเตนในการเชื่อม โดยบริเวณบ่อหลอมจะมีก๊าซเฉื่อยปกคลุม สำหรับป้องกันการปนเปื้อนหรือการทำปฏิกิริยากับอากาศรอบข้าง และก๊าซเฉื่อยที่ได้รับความนิยมใช้ ก็คือ ก๊าซอาร์กอนหรือฮีเลียม นั่นเอง จุดเด่นของเครื่องเชื่อม TIG อยู่ที่แนวเชื่อมที่ได้จะมีความเนี้ยบสวยงาม แนวเชื่อมสะอาด ควันน้อยไม่มีประกายไฟ และสามารถเชื่อมโดยไม่ต้องใช้ลวดเติมได้
  2. เครื่องเชื่อมไฟฟ้า หรือ MMA: เครื่องเชื่อมที่ใช้ความร้อนจากอาร์กระหว่างลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์กับชิ้นงาน ใช้กระแสไฟตรงหรือ DC ในการเชื่อม ปัจจุบันเครื่องเชื่อมชนิดนี้เป็นระบบอินเวอร์เตอร์ ข้อดีของเครื่องเชื่อมระบบอินเวอร์เตอร์อยู่ที่น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ง่าย ประหยัดพลังงาน ราคาถูกกว่าเครื่องเชื่อมชนิดอื่น และไม่ต้องใช้ก๊าซอีกด้วย
  3. เครื่องเชื่อม MIG/MAG: เครื่องเชื่อมที่ใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรืออาร์กอนเข้าไปปกคลุมในงานเชื่อม และไม่จำเป็นต้องใช้มือป้อนลวดเชื่อมเข้าไปเหมือนการเชื่อม TIG เพราะการเชื่อมประเภทนี้มาพร้อมกับระบบการป้อนลวดอัตโนมัติที่จะเติมลวดเชื่อมลงบนชิ้นงานให้เอง

คุณสมบัติของเครื่องเชื่อมที่ต้องพิจารณาเมื่อต้องเลือกซื้อ

  • กระแสไฟเชื่อม มีหน่วยเป็น แอมแปร์ (Amperage)

กระแสไฟสูงสุดของเครื่องเชื่อมในแต่ละรุ่นจะไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นค่าที่แสดงถึงกำลังที่เครื่องเชื่อมรุ่นนั้นๆสามารถเชื่อมได้ ซึ่งหลักการเลือกเครื่องเชื่อมง่าย ๆ คือ ให้เลือกจากขนาดของลวดเชื่อมก่อนเลือกซื้อเครื่องเชื่อมในแต่ละครั้งและจะต้องพิจารณาร่วมด้วยว่าคุณต้องการนำเครื่องเชื่อมไปใช้เชื่อมกับวัสดุอะไร มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานอย่างไร เพื่อที่จะได้เลือกซื้อเครื่องเชื่อมที่มีกำลังค่าแอมแปร์ หรือกระแสไฟเชื่อม รองรับต่อการใช้งานได้อย่างลงตัว

  • วัฏจักรการทำงาน (Duty Cycle)

เครื่องเชื่อมส่วนใหญ่จะมีระบบตัดไฟอัตโนมัติ เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องเชื่อมร้อนเกินไป จนเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายขณะใช้งานได้ โดยเครื่องเชื่อมจะมีการระบุรอบการทำงานเป็นค่าแอมแปร์ไว้ให้ชัดเจน ซึ่งค่านี้จะส่งผลต่อผู้ที่ต้องการใช้งานเครื่องเชื่อมต่อเนื่อง หากต้องการเครื่องเชื่อมที่ใช้งานได้ยาวนานต่อเนื่อง ควรเลือกเครื่องเชื่อมที่มีวัฏจักรการทำงานสูง ๆ เช่น Duty Cycle 60% หรือ 100% เพราะจะได้ไม่ต้องพักเครื่องนานจนเกินไป

  • ฟังก์ชั่นพัลล์ (Pulse Function)

เครื่องเชื่อมรุ่นใหม่มักมีฟังก์ชั่นพัลล์แถมมาให้ด้วย ซึ่งฟังก์ชั่นพัลล์ คือฟังก์ชั่นที่ช่วยให้คุณสามารถเชื่อมวัสดุบางๆ ,อะลูมิเนียมและสแตนเลสได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีหลักการทำงาน คือ การจ่ายกระแสเชื่อม ทั้งกระแสไฟหลักและกระแสไฟรองสลับกันไปมาต่อเนื่อง ทำให้ความร้อนสะสมที่ชิ้นงานน้อย และยังทำให้แนวเชื่อมเป็นเกล็ดที่สวยงามอีกด้วย พบได้ในเครื่องเชื่อม TIG และเครื่องเชื่อม MIG/MAG นอกจากคุณประโยชน์ในการเชื่อมวัสดุจำพวกเหล็ก ,อะลูมิเนียมและสแตนเลสแล้ว ฟังก์ชั่นพัลล์มีคุณสมบัติการเชื่อมที่สม่ำเสมอ กระแสไฟนิ่งเสถียร ทำให้มีคุณภาพสูง

  • ฟังก์ชั่นการปรับแรงดันไฟอัตโนมัติ (Synergic)

ฟังก์ชั่นใหม่ของเครื่องเชื่อม MIG/MAG แบบ Synergic ที่จะช่วยให้คุณสามารถเชื่อมชิ้นงานได้ต่อเนื่อง โดยระบบ Synergic คือระบบปรับแรงดันไฟอัตโนมัติที่สั่งการผ่านปุ่มปรับ 1 ปุ่ม สิ่งที่ผู้ใช้งานต้องทำ คือป้อนความหนาของวัสดุที่ต้องการเชื่อม ,กระแสไฟเชื่อม (แอมแปร์) เครื่องเชื่อมจะปรับแรงดันไฟที่ต้องการใช้ให้อัตโนมัติ อีกทั้งเครื่องเชื่อมบางรุ่นยังสามารถบันทึกโปรแกรมที่ใช้เชื่อมบ่อย ๆ ของคุณไว้ได้ด้วย ทำให้งานเชื่อมสะดวก ง่าย และรวดเร็วกว่าที่เคย ทำให้ผู้ที่ไม่มีความชำนาญในการใช้เครื่องเชื่อม ก็ใช้งานได้

 

เครื่องเชื่อม MIG และเครื่องเชื่อม MMA ต่างกันอย่างไร?

  • รูปแบบการเชื่อม

เครื่องเชื่อมแต่ละประเภทต่างมีกระบวนการและขั้นตอนการเชื่อมที่แตกต่างกัน ซึ่งเครื่องเชื่อม MIG/MAG จะแตกต่างกับ MMA ตรงที่กระบวนการเชื่อม MIG/MAG จะต้องใช้แก๊สปกคลุมในการเชื่อมเพื่อป้องกันออกซิเจนหรืออากาศภายนอกเข้ามา ทำปฏิกิริยากับบ่อหลอมละลาย ในขณะที่เครื่องเชื่อม MMA เมื่อทำการเชื่อมฟลักซ์ที่หุ้มลวดเชื่อมจะกลายเป็นแก๊สปกคลุมแทน

  • วัสดุที่เชื่อมได้

เครื่องเชื่อม MIG/MAG และ MMA สามารถเชื่อมวัสดุจำพวกโลหะได้หลากหลายชนิด อาทิ เหล็กคาร์บอน สแตนเลส และอะลูมิเนียม แต่การเลือกใช้งานขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานและสภาพแวดล้อมของการใช้งาน

  • ความสามารถในการเชื่อม

เครื่องเชื่อม MIG/MAG ขึ้นชื่อในด้านความเสถียรและความเร็วในการเชื่อม จึงเหมาะสำหรับงานที่ต้องการความละเอียดแม่นยำ ต่างกับเครื่องเชื่อม MMA ที่เน้นในด้านความอเนกประสงค์ในการใช้งาน เหมาะสำหรับพกใช้งานนอกสถานที่ สามารถใช้เชื่อมงานในที่ ที่เข้าถึงยากได้

  • ความยากในการใช้งาน

เครื่องเชื่อม MIG/MAG เหมาะสำหรับช่างมือใหม่ที่มีประสบการณ์ไม่สูง เพราะมีระบบการใช้งานง่าย สามารถปรับระดับความเร็วในการเชื่อมได้ตามต้องการ ในขณะที่เครื่องเชื่อม MMA จะมียากในขณะทำการเชื่อมมากกว่าทำให้ต้องใช้ความชำนาญในการใช้งานพอสมควร

 

รู้จักกับกระแสไฟของเครื่องเชื่อม

  1. กระแสตรง (DC)

เครื่องเชื่อม Inverter ที่ใช้กระแสไฟตรงในการเชื่อม ซึ่งเป็นกระแสที่มีการเรียงตัวของกระแสไฟฟ้าที่ใช้งานเพียงทางเดียว แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ DC+ และ DC- โดยข้อดีของเครื่องเชื่อมกระแสตรง คือสามารถใช้ในงานเชื่อมโลหะได้ทุกประเภท ทั้งชนิดบางและชนิดหนา มีกระแสไฟที่นิ่ง สม่ำเสมอ ทำให้ควบคุมแนวเชื่อมได้ง่าย

  1. กระแสไฟสลับ (AC)

กระแสไฟที่พบได้บ่อยในเครื่องเชื่อมชนิดหม้อแปลง โดยกระแสไฟจะสลับเปลี่ยนไปมาระหว่างขั้วลบและขั้วบวก จุดเด่นของเครื่องเชื่อมกระแสไฟสลับ คือมีความทนทานต่อการใช้งานได้มาก แต่ต้องติดตั้งสายดินขณะใช้งาน หากไม่ติดตั้งก็โอกาสที่จะได้รับอันตรายจากไฟฟ้าดูดได้ง่าย เหมาะสำหรับใช้ในงานเชื่อมโครงสร้างทั่วไป

ข้อควรระมัดระวังขณะใช้งานเครื่องเชื่อม

  • อันตรายจากฟูม

ฟูม (Fume) คือ ของแข็งที่มีอนุภาคขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน ที่เปลี่ยนสถานะกลายเป็นก๊าซ มักเกิดจากการควบแน่นของไอจากปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นขณะใช้งานเครื่องเชื่อม มักลอยตกค้างในอากาศเป็นเวลานานร่วมกับก๊าซอันตรายอื่น ๆ เช่น ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ก๊าซโอโซน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และไอระเหยโลหะในอากาศ ล้วนแล้วแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ระบบทางเดินหายใจ และต่อปอดในระยะยาว

  • อันตรายจากรังสี

การเชื่อมชิ้นงานมักจะใช้การอาร์กในการหลอมละลายลวดเชื่อมและชิ้นงานเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดรังสีอินฟราเรด หรือรังสีใต้แดง (infra + red) และรังสีเหนือม่วง (Ultraviolet) อัลตราไวโอเลตขึ้น ซึ่งรังสีเหล่านี้มีอันตรายต่อสายตามนุษย์โดยตรง ถ้าจองไปที่แสงโดยตรงเป็นเวลานาน จะทำให้กระจกตาไหม้ได้ รวมถึงหากถูกผิวหนังจะทำให้ผิวหนังไหม้อีกด้วย ซึ่งเป็นอันตรายที่พบได้บ่อยๆ

  • อันตรายจากสะเก็ดไฟ

ขณะทำการเชื่อมชิ้นงานอาจมีสะเก็ดไฟ ที่กระเด็นมาโดนผิวหนังได้ ช่างที่ปฏิบัติงานทุกคนจะต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันขณะทำงานทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นถุงมือหนัง ,เอี๊ยมหนัง ,ปลอกแขนหนัง ,ปลอกขาหนัง ,หน้ากากป้องกัน มิเช่นนั้นอาจถูกสะเก็ดไฟจนเกิดแผลพุพองรุนแรงได้หากไม่ระมัดระวัง หากกระเด็นถูกตาก็อาจเป็นอันตรายถึงขั้นตาบอดได้เลยทีเดียว

  • อันตรายจากไฟฟ้าดูด

เครื่องเชื่อมจะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจากเครื่องสู่ชิ้นงาน จึงควรที่จะต่อสายกราวด์ เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลลงสู่ดินเสมอ ทำให้วงจรมีความสมบูรณ์ หากไม่ต่อสายกราวด์ก็มีโอกาสที่ผู้ใช้งานหรือผู้ใกล้เคียงเสี่ยงต่อการถูกไฟฟ้าดูดและเป็นอันตรายได้

ดูในมุมมอง ตาราง รายการ

รายการ 1-24 ของ 42

ต่อหน้า
ตั้งค่าเรียงจากมากไปน้อย
หน้า
ดูในมุมมอง ตาราง รายการ

รายการ 1-24 ของ 42

ต่อหน้า
ตั้งค่าเรียงจากมากไปน้อย
หน้า